"พระอาจารย์คำมี สุวัณณสิริ" วัดสามัคคีธรรม บ้านนาเหมือง ต.พังโคน อ.พังโคน จ.สกลนคร
เป็นพระป่าสายปฏิบัติในสายของพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต อีกรูปหนึ่งที่มีวัตรปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ
มีเมตตาธรรมสูง มุ่งเจริญวิปัสสนากัมมัฏฐาน ครองตนอยู่ในผ้ากาสาวพัสตร์สมถะเสมอต้นเสมอปลาย
วันอังคารที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555
ประวัติวัดสามัคคีธรรมและประวัติการก่อสร้างศาลาการเปรียญ
วัดสามัคคีธรรม ตั้งอยู่บ้านนาเหมือง หมู่ที่ 2 ตำบลพังโคน อำเภอพังโคน จังหวัดสกลนคร มีเนื้อที่ 100 ไร่ เนื้อที่ธรณีสงฆ์ 158 ไร่ อยู่ทางทิศใต้ของที่ว่าการอำเภอพังโคนประมาณ 2 กิโลเมตร ตั้งวัดเมื่อปี พ.ศ. 2485 มีนายกิตติ เอกอุ่น ผู้ใหญ่บ้านบ้านนาเหมืองเป็นผู้ชักชวนจัดตั้ง โดยมีพระอาจารย์เฒ่า (หลวงปู่คำ ยสกุลปุตโต) เจ้าอาวาสวัดศรีจำปาชนบท บ้านพังโคน องค์ปัจจุบันนี้เป็นองค์อุปถัมภ์ มีหลวงตาคำอ้าย พระอาจารย์บุญจันทร์ พระหลวงตานา สุธมโม เป็นผู้ดำเนินการก่อสร้างและรักษาการแทนเจ้าอาวาสเป็นลำดับต่อมา จนปี พ.ศ.2506 พระหลวงตานาได้ถึงแก่มรณภาพ วัดนี้จึงสร้างอยู่ 4 ปี เมื่อปีพ.ศ. 2511 ท่านพระครูศรีภูมานรักษ์ (คำมี สุวณณสิริ) เจ้าอาวาสวัดศรีสว่างแดนดิน อำเภอสว่างแดนดิน ได้ย้ายมาดำรงตำแหน่งเจ้าคณะอำเภอพรรณนานิคม-วาริชภูมิ (ธรรมยุต) มาตั้งสำนักงานและเจ้าอาวาสวัดสามัคคีธรรมนี้ ได้วางแผนพัฒนา ตัดถนนในวัดเสร็จในปี พ.ศ.2511-2513 เริ่มสร้างกุฏิไว้เป็นที่พักพอสมควร และสร้างศาลาหอฉันขึ้น 1 หลัง ศาลาบ้านพักชี 1 หลัง รวมราคาประมาณ 50,000 บาท และหาค่าเครื่องอุปกรณ์การก่อสร้างศาลาการเปรียญหลังนี้ เริ่มจากปี พ.ศ.2512 และสะสมตัวไม้ไว้บ้าง ก็พอดีได้รับกฐินสามัคคีจากคระแทรกเตอร์เขื่อนน้ำอูน จากการนำของท่าน ส.กำจัด มณีดุล ย์ หัวหน้าแทรกเตอร์ ได้รับปัจจัย 12,000 บาท เป็นปฐมฤกษ์ ในปี พ.ศ.2513 วันที่ 19 มีนาคม 2513 จึงได้วางศิลาฤกษ์ศาลาหลังนี้ โดยท่านพระอาจารย์บุญมา ฐิตเปโม วัดสิริสาละวัน จัดงหวัดอุดรธานี เป็นประธานในการวางศิลาฤกษ์ครั้งนี้ ท่านเจ้าคุณธรรมวราภรณ์ เจ้าคณะภาค 8 (ธรรมยุต) ก็ได้มาร่วมงานในตอนกลางคืนด้วย
งานปีแรกได้เทเสาตอหม้อ คานคอดินเสาที่ท่อนล่าง ทุนรอนหมดจึงต้องหยุดพักไว้ก่อน สร้างกุฏิเป็นที่พักในปี พ.ศ.2514-2515 ได้กุฏิ 8 หลัง ราคาประมาณ 150,000 บาท เป็นทุนของวัดบ้างและเจ้าภาพบ้าง เพราะทุนมีน้อยจึงค่อย ๆ ทำไปและในปี พ.ศ. 2514-2515 เทคานเสาท่อนบน เมื่อเทคานเสาเสร็จ ปี พ.ศ.2516 จึงได้ยกโครงมุงหลังคายกช่อฟ้าในวันที่ 9 กันยายน 2516 งานทำตลอดปี มุงหลังคา ตีเพดานเสร็จในปี พ.ศ.2517 เข้าพื้น กั้นฝา ประตู หน้าต่าง เข้าพื้นด้วยไม้พื้นล่างด้วยกระเบื้อง ลูกกรง บันไดเหล็กย่างเข้าปี 2518 อีก 1 เดือน จึงเสร็จ เพราะอุปกรณ์ไม่ทัน ทุนไม่พอจึงทำให้งานล่าช้า บัดนี้ก็เสร็จเรียบร้อยแล้ว งานที่ยังทำไม่เสร็จคือกำแพงแก้ว ยกไว้ทำทีหลัง (ในเมื่อมีทุน) ศาลาหลังนี้กว้าง 14 เมตร ยาว 36 เมตร สิ้นค่าก่อสร้างประมาณ 650,000 บาท (หกแสนห้าหมื่นเศษ) ก่อนที่จะทำครั้งแรกก็ได้ปรึกษาหารือกับคณะกรรมการวัดว่า ถ้าเงินสะดวก (คล่อง) ก็จะทำเป็นศาลาการเปรียญตามรูปเดิม ถ้าเงินฝืดก็จะทำเป็นอุโบสถหลังเดียวกันนี้ ครั้นทำมาจริงๆ เงินก็ฝืดเคืองและเจ้าอาวาสก็ป่วยต้องเข้ารักษาตัวที่โรงพยาบาลเป็นเวลา 10 วัน จึงได้ออกจากโรงพยาบาล ไม่มีกำลังใจที่จะดำเนินการต่อ เกือบจะเอาตัวไม่รอด ดังนั้นจึงเปลี่ยนแผนงานนี้ ที่จะทำเป็นอุโบสถใหม่ ในวันประชุมจัดงานประจำปี 2517 เป็นต้นมา การก่อสร้างถาวรวัตถุดังกล่าวนี้ จะสำเร็จมาได้ก็เนื่องด้วยได้รับอุปการะจากหลายฝ่าย ทั้งฝ่ายบรรพชิตและฝ่ายคฤหัสถ์ ครูบาอาจารย์ คณะสงฆ์ทั่วๆ ไปให้ความร่วมมือ ทั้งจังหวัดสกลนคร และจังหวัดอื่นๆ ใกล้เคียง อาทิ เช่น จังหวัดหนองคาย อุดรธานี จันทบุรี กรุงเทพมหานคร ดังรายนามผู้บริจาคตั้งแต่ 50 บาท ขึ้นไป ทางคณะกรรมการได้นำมาลงไว้ในท้ายของรายการนี้แล้ว ทั้งข้าราชการ พ่อค้า ประชาชน มีผู้ว่าราชการจังหวัดสกลนคร (นายสอน สุทธิสาร) เป็นต้น
อนึ่ง ผู้ที่ช่วยเหลือเป็นสิ่งของ เป็นพาหนะ คือ ท่านแม่ทัพภาคที่ 2 ส่วนหน้าสกลนคร ได้ให้รถยนต์ลากไม้แปรรูปจากดงพระลาด บ้านหนองแปน-นาสีนวน ตำบลโคกสี อำเภอสว่างแดนดิน 2 เที่ยว โรงสีหยูเซ้งล้ง อำเภอพังโคนช่วยขน 2-3 เที่ยว ร้านฟรีเจริญผล อำเภอสว่างแดนดิน 3-4 เที่ยว รถนายประมวล ศรีลารักษ์ บ้านเจริญศิลป์ ตำบลทุ่งแก อำเภอสว่างแดนดิน 1 เที่ยว นายสมศักดิ์ แซ่กอ ถวายไม้ตะเคียน 1 ท่อน นายบุญทัน สุริยะจันทร์ ถวายไม้เต็ง 5 ท่อน นางทา คำภูแสน บ้านดงสวรรค์ อำเภอสว่างแดนดิน ถวายไม้ยาง 1 ต้น นางสงกา น้อยแสงสี บ้านดงสวรรค์ อำเภอสว่างแดนดิน ถวายไม้ยาง 1 ต้น นายมั่น-นายชาญ สิทธิไตร ถวายไม้ตะเคียน 6 ท่อน ร้านชัยวนิชย์ หนองคาย ถวายหิน-กรวด-ทราย อย่างละ 6 คิว คณะจังหวัดจันทบุรี ถวายค่าปูน ประมาณ 200 ถุง ถวายกฐิน 2 ครั้ง ผ้าป่า 3 ครั้ง ประมาณ 80,000 บาท (แปดหมื่นบาทเศษ) เป็นทุนสร้างศาลาการเปรียญ-สระน้ำและถวายเสื่อลวดจันทบุรี อีกหลายม้วน
สระน้ำ ขนาดกว้าง 60 เมตร ยาว 80 เมตร ลึก 5.50 เมตร พระเผด็จศักดิ์ ปภัสสโร ลูกศิษย์ในวัดนี้เป็นผู้วิ่งเต้นติดต่อขอความร่วมมือจากกรมชลประทาน เขื่อนน้ำอูน คณะแทรกเตอร์ โดยทางวัดเป็นผู้ออกค่าน้ำมันให้ประมาณ 14,000 บาท ทุนเป็นของคณะกรุงเทพฯ-จันทบุรี ทำเสร็จเมื่อวันที่ 9 เมษายน 2517 แยกเฉพาะสระน้ำรายใหญ่ คือ คุณแม่สุพรรณ เอครพานิช พร้อมด้วยลูกชาย คุณพิชิต เอครพานิช โรงแรมเมืองจันท์คนละ 3,000 บาท คณะผ้าป่ากรุงเทพฯ-จันทบุรี 12,000 บาท คุณแม่สุพรรณพร้อมคุณพิชิต เอครพานิช ลูกชายถวายอัครสาวก 1 คู่ ราคา 15,000 บาท นางนิราพา ธปคุณ กรุงเทพฯ ถวายค่าแรงงานหล่อพระประธาน 20,000 บาท พ.อ.บันจบ อัครเสนา ถวายพระพุทธรูปทองขัดหน้าตัก 60 ซม. ราคา 5,000 บาท 1 องค์ นายสุธีร์-นางแววทิพย์ สื่อกลาง สร้างกุฏิถวาย 1 หลัง ราคา 8,000 บาท นางเกสร ไชยชมพู สร้างกุฏิถวาย 1 หลัง 3,000 บาท นางหนูนิล พลศรีลา สร้างกุฏิอุทิศให้สามี 1 หลัง ราคา 8,000 บาท นางทองอินทร์-นางประยงค์ พิมูลขันธ์ สร้างกุฏิอุทิศให้ลูกชาย 1 หลัง ราคา 3,000 บาท นางทองสุข สร้างกุฏิถวาย 1 หลัง ราคา 2,500 บาท นอกจากนี้ยังมีผู้ร่วมกับทางวัดเล็กๆ น้อยๆ ตามกำลังศรัทธา คือกุฏิเจริญศิลป์สามัคคี-กุฏิเหลืองลำลึกและกุฏิศรีภูมานุสรณ์ เป็นต้น
อุปกรณ์ส่วนนอกในการสร้างศาลาหลังนี้ คือลูกนิมิต 9 ลูก ได้มาจากถ้ำเจ้าภูข้า อำเภอพรรณานิคม อาศัยญาติโยมบ้านไทยเจริญ บ้านโคกเสาขวัญ ตำบลไร่ อำเภอพรรณานิคม เป็นกำลังช่วยขน โดยคุณอินทรา เป็นผู้บริการขนส่งใบสี มา 8 ใบ สำหรับใบสีมาทั้ง 8 ใบนี้ ได้มีผู้ให้ความอุปการะ คือ
1.พระครูโกวิสังฆภาร วัดจันทรังสี เจ้าคณะอำเภอวังสะพุง (ธรรมยุต) 1 ใบ 400 บาท
2.แม่ใหญ่มา บุญปัน บ้านโคกแฝก ตำบลผาน้อย อำเภอวังสะพุง 1 ใบ 400 บาท
3.คณะญาติโยมวัดประชาสวรรค์และวัดจอมมณี อำเภอวังสะพุง 1 ใบ 400 บาท
4.นายบัว จันทิมา บ้านห้วยทรายคำ อำเภอวังสะพุง 1 ใบ 400 บาท
5.คณะญาติโยมชาวบ้านทรายคำ-บ้านบุ่งกกตากล้วย 1 ใบ 400 บาท
6.คณะญาติโยมบ้านโคกแฝก-หนองขาบ อำเภอวังสะพุง 1 ใบ 400 บาท
7.คณะญาติโยมบ้านเหล่ากกเกลี้ยง-บ้านโนน อำเภอวังสะพุง 1 ใบ 400 บาท
8.ท่านนายอำเภอสีพนม วรสาร ส.ส.จังหวัดเลย 1 ใบ 400 บาท
นอกจากนั้นคุณจีรมิตร เจียมเจริญอุดมดี ผู้จัดการโรงเลื่อยจักรประสิทธิ์วัฒนา จำกัด บ้านต้าย อำเภอสว่างแดนดิน ถวายไม้พื้นพักบนทั้งหมด พักล่าง 2 ห้อง และขอขอบพระคุณท่านนายอำเภอสีพนม วรสาร ที่ช่วยติดต่อนายช่างให้ ไว้ ณ โอกาสนี้ด้วย
ขออำนวยพร
พระครูศรีภูมานุรักษ์
ประธานกรรมการการก่อสร้างทั้งหมด
27 กุมภาพันธ์ 2518
ประวัติบ้านนาเหมืองโดยสังเขป
บ้านนาเหมือง ตั้งอยู่ทิศตะวันออกเฉียงใต้ของที่ว่าการอำเภอพังโคน ห่างประมาณ 2 กิโลเมตร ปัจจุบันมีบ้านเรือนประมาณ 250 หลังคาเรือน (ปี พ.ศ.2518) มีประชากร 1,250 คน แบ่งเป็น 2 หมู่บ้าน คือหมู่ 2 และหมู่ 3 ขึ้นกับตำบลพังโคน อำเภอพังโคน จังหวัดสกลนคร บ้านนาเหมืองมีราษฎรล้วนแต่เป็นชาวภูไทเป็นส่วนมาก มีประวัติเก่าแก่บ้านหนึ่งของจังหวัดสกลนคร เคยเป็นที่ตั้งของเมืองๆ หนึ่งในอดีต มีชื่อว่า “เมืองจัมปาชนบท” มีเจ้าเมืองอุปฮาด ราชวงค์ ราชบุตร เป็นเจ้าหน้าที่ปกครอง ขึ้นกับจังหวัดสกลนคร ภายหลังการจัดระเบียบปกครองใหม่ เมืองจัมปาชนบทได้ถูกยุบเป้นเพียงหมู่บ้านขึ้นกับอำเภอพรรณนานิคม เพิ่งกลับมีฐานะเป็นอำเภอเรียกว่าอำเภอพังโคนเมื่อ 10 ปีมานี้เอง แต่ที่ว่าการอำเภอตั้งอยู่ที่บ้านพังโคน ซึ่งเป็นศูนย์กลางคมนาคมและค้าขาย บ้านนาเหมืองแท้ๆ จึงไม่ได้รับการพัฒนาเท่าที่ควร
ดังประวัติบ้านนาเหมืองย่อๆ ว่า เมื่อชาวภูไท อพยพมาจากเมืองวัง ฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง มาอยู่ที่นี่ ชาวภูไทได้พากันตั้งบ้านขึ้นให้ชื่อว่า “บ้านจัมปา” อันเป็นนามของดอกไม้ เมื่อมาอยู่ได้ความร่มเย็นเป็นสุขแล้ว “ท้าวแก้ว” ผู้เป็นหัวหน้าชาวบ้านภูไทบ้านจัมปา จึงได้ปรึกษาต่อเจ้าเมืองสกลนครเพื่อขอตั้งบ้านจัมปาขึ้นเป็นเมือง เมื่อเจ้าเมืองสกลนครได้เห็นดีเห็นชอบแล้ว เจ้าเมืองสกลนครจึงได้มีใบบอกส่งเรื่องราวขอตั้ง เสนอลงไปทางกรุงเทพมหานคร ในสมัยนั้นเรียกว่า “ลงไปเฮียนเมือง” ครั้นปี พ.ศ. 2420 จึงได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งหมู่บ้านจัมปาเป็น “เมืองจัมปาชนบท” และตั้งให้ท้าวแก้วเป็นพระบำรุงนิคมเขตรเป็นเจ้าเมืองจัมปาชนบท พอท้าวแก้วได้เป็นเจ้าเมืองแล้วก็ได้พาบรรดาชาวภูไททำนากัน เพื่อเป็นตัวอย่างแก่ชาวภูไทที่ไม่เคยทำนามาก่อน นาของท่านนี้อยู่ริมหมู่บ้านทางทิศตะวันออกหนองสิมเรียกว่า “ทุ่งนาเมือง” คือเป็นนาของเจ้าเมือง ครั้นพระบำรุงนิคมเขตร (ท้าวแก้ว) ถึงแก่กรรมแล้ว ท้าวคำไขหลาน ลูกพี่ชายของท้าวแก้วผู้เป็นอุปฮาด ก็ได้รับแต่งตั้งให้เป็นพระบำรุงนิคมเขตร เป็นเจ้าเมืองจัมปาชนบท คนที่ 2 สืบแทน
ครั้นต่อมาถึง พ.ศ. 2445 ทางราชการสมัยนั้นจึงได้เปลี่ยนแปลงการปกครองเสียใหม่คือยุบบรรดาเมืองต่างๆ ลงเป็นอำเภอ มีเมืองพรรณานิคม เมืองวาริชภูมิ ลงเป็นอำเภอตามนามเดิม ส่วนเมืองจำปาชนบทนั้นอยู่ใกล้เมืองพรรณนานิคมจึงยุบเลิกเสียเลย โอนหมู่บ้านไปขึ้นกับอำเภอพรรณนานิคมเสีย พระบำรุงนิคมเขตร (ท้าวคำไข) เจ้าเมืองจัมปาชนบท คนที่ 2 ได้พาครอบครัวญาติพี่น้องบางส่วนอพยพไปอยู่ที่บ้านม่วง (อำเภอบ้านม่วง) ในขณะนี้ เพื่อขอตั้งบ้านม่วง เป็นเมืองอีก แต่พระบำรุงนิคมเขตรได้ตายไปเสียก่อน ส่วนเมืองจัมปาชนบทที่ยุบเลิกได้เรียกกันว่า “บ้านนาเมือง” ตามนามทุ่งนาเจ้าเมือง ต่อมาก็พากันเรียกว่า “บ้านนาเหมือง” เรียกผิดเพี้ยนมาจนกระทั่งปัจจุบันนี้
บ้านนาเหมือง ตั้งอยู่ทิศตะวันออกเฉียงใต้ของที่ว่าการอำเภอพังโคน ห่างประมาณ 2 กิโลเมตร ปัจจุบันมีบ้านเรือนประมาณ 250 หลังคาเรือน (ปี พ.ศ.2518) มีประชากร 1,250 คน แบ่งเป็น 2 หมู่บ้าน คือหมู่ 2 และหมู่ 3 ขึ้นกับตำบลพังโคน อำเภอพังโคน จังหวัดสกลนคร บ้านนาเหมืองมีราษฎรล้วนแต่เป็นชาวภูไทเป็นส่วนมาก มีประวัติเก่าแก่บ้านหนึ่งของจังหวัดสกลนคร เคยเป็นที่ตั้งของเมืองๆ หนึ่งในอดีต มีชื่อว่า “เมืองจัมปาชนบท” มีเจ้าเมืองอุปฮาด ราชวงค์ ราชบุตร เป็นเจ้าหน้าที่ปกครอง ขึ้นกับจังหวัดสกลนคร ภายหลังการจัดระเบียบปกครองใหม่ เมืองจัมปาชนบทได้ถูกยุบเป้นเพียงหมู่บ้านขึ้นกับอำเภอพรรณนานิคม เพิ่งกลับมีฐานะเป็นอำเภอเรียกว่าอำเภอพังโคนเมื่อ 10 ปีมานี้เอง แต่ที่ว่าการอำเภอตั้งอยู่ที่บ้านพังโคน ซึ่งเป็นศูนย์กลางคมนาคมและค้าขาย บ้านนาเหมืองแท้ๆ จึงไม่ได้รับการพัฒนาเท่าที่ควร
ดังประวัติบ้านนาเหมืองย่อๆ ว่า เมื่อชาวภูไท อพยพมาจากเมืองวัง ฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง มาอยู่ที่นี่ ชาวภูไทได้พากันตั้งบ้านขึ้นให้ชื่อว่า “บ้านจัมปา” อันเป็นนามของดอกไม้ เมื่อมาอยู่ได้ความร่มเย็นเป็นสุขแล้ว “ท้าวแก้ว” ผู้เป็นหัวหน้าชาวบ้านภูไทบ้านจัมปา จึงได้ปรึกษาต่อเจ้าเมืองสกลนครเพื่อขอตั้งบ้านจัมปาขึ้นเป็นเมือง เมื่อเจ้าเมืองสกลนครได้เห็นดีเห็นชอบแล้ว เจ้าเมืองสกลนครจึงได้มีใบบอกส่งเรื่องราวขอตั้ง เสนอลงไปทางกรุงเทพมหานคร ในสมัยนั้นเรียกว่า “ลงไปเฮียนเมือง” ครั้นปี พ.ศ. 2420 จึงได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งหมู่บ้านจัมปาเป็น “เมืองจัมปาชนบท” และตั้งให้ท้าวแก้วเป็นพระบำรุงนิคมเขตรเป็นเจ้าเมืองจัมปาชนบท พอท้าวแก้วได้เป็นเจ้าเมืองแล้วก็ได้พาบรรดาชาวภูไททำนากัน เพื่อเป็นตัวอย่างแก่ชาวภูไทที่ไม่เคยทำนามาก่อน นาของท่านนี้อยู่ริมหมู่บ้านทางทิศตะวันออกหนองสิมเรียกว่า “ทุ่งนาเมือง” คือเป็นนาของเจ้าเมือง ครั้นพระบำรุงนิคมเขตร (ท้าวแก้ว) ถึงแก่กรรมแล้ว ท้าวคำไขหลาน ลูกพี่ชายของท้าวแก้วผู้เป็นอุปฮาด ก็ได้รับแต่งตั้งให้เป็นพระบำรุงนิคมเขตร เป็นเจ้าเมืองจัมปาชนบท คนที่ 2 สืบแทน
ครั้นต่อมาถึง พ.ศ. 2445 ทางราชการสมัยนั้นจึงได้เปลี่ยนแปลงการปกครองเสียใหม่คือยุบบรรดาเมืองต่างๆ ลงเป็นอำเภอ มีเมืองพรรณานิคม เมืองวาริชภูมิ ลงเป็นอำเภอตามนามเดิม ส่วนเมืองจำปาชนบทนั้นอยู่ใกล้เมืองพรรณนานิคมจึงยุบเลิกเสียเลย โอนหมู่บ้านไปขึ้นกับอำเภอพรรณนานิคมเสีย พระบำรุงนิคมเขตร (ท้าวคำไข) เจ้าเมืองจัมปาชนบท คนที่ 2 ได้พาครอบครัวญาติพี่น้องบางส่วนอพยพไปอยู่ที่บ้านม่วง (อำเภอบ้านม่วง) ในขณะนี้ เพื่อขอตั้งบ้านม่วง เป็นเมืองอีก แต่พระบำรุงนิคมเขตรได้ตายไปเสียก่อน ส่วนเมืองจัมปาชนบทที่ยุบเลิกได้เรียกกันว่า “บ้านนาเมือง” ตามนามทุ่งนาเจ้าเมือง ต่อมาก็พากันเรียกว่า “บ้านนาเหมือง” เรียกผิดเพี้ยนมาจนกระทั่งปัจจุบันนี้
ประวัติพระอาจารย์คำมี
ชีวประวัติพระครูศรีภูมานุรักษ์
เจ้าคณะอำเภอพรรณนานิคม-วาริชภูมิ-พังโคน (ธรรมยุต)
เจ้าอาวาสวัดสามัคคีธรรม
ชื่อเดิมคำมี นามสกุล สุวรรณศรี (ฉายา)สุวณฺณสิริ เกิดวันศุกร์ เดือน 4 แรม 9 ค่ำ ปีวอก วันที่ 1 เมษายน 2464 (แต่ตามที่ใช้ปกติปีวอก 2463) ที่บ้านบก หมู่ที่ 3 ตำบลหนองไข่นก อำเภอม่วงสามสิบ จังหวัดอุบลราชธานี บิดาชื่อนายเคน สุวรรณศรี มารดาชื่อนางดี สุวรรณศรี สำเร็จการศึกษาชั้น ป.4 ที่ ร.ร ประชาบาลบ้านก่อ 1 ตำบลหนองไข่นก อำเภอม่วงสามสิบ จังหวัดอุบลราชธานี เมื่อปี พ.ศ.2478 และได้ฝากตัวเป็นศิษย์วัดที่บ้านบกเมื่อปี 2477 เป็นศิษย์วัดอยู่ 2 ปี เรียนสวดมนต์น้อยสวดมนต์กลางอักษรธรรม (เรียนแบบต่อหนังสือปากเปล่า) กับอาจารย์พา สาธรพันธ์ และอาจารย์โทน ศรีงาม เจ้าอาวาสตามลำดับกัน ครั้นปลายปี 2478 จบ ป.4 แล้วบรรพชาเป็นสามเณรที่สีมาวัดบ้านบก ตำบลหนองไข่นก อำเภอม่วงสามสิบ จังหวัดอุบลราชธานี พระอุปัชฌาย์อ่อน สิริจนฺโท วัดบ้านก่อเป็นพระอุปัชฌาย์ ครั้นบรรพชาแล้วอยู่บ้านบกไม่นานก็ได้ติดตามพระอาจารย์เพชร กิตฺติวณฺโท อดีตเจ้าอาวาสวัดบุญญานุสรณ์ หนองวัวซอ จังหวัดอุดรธานี
ไปจำพรรษาที่วัดบ้านก่อ ร่วมกับพระอุปัชฌาย์มีพระอาจารย์สีทา สีดา เป็นพระสอนสวดมนต์ จบพระ ปาฏิโมกข์ ในปี 2479 และสอบ น.ธ.ตรี ได้ พระมหาพรหมา บุญสร้าง เป็นครูสอน ปี 2480 ได้จำพรรษาและเรียนบาลีไวยากรณ์ที่วัดบ้านก่อ พระอาจารย์มหาสีทน กาญฺจโน เป็นครูสอน และออกพรรษาแล้วท่านนำเที่ยววิเวก ถึงเมืองโขงจำปาศักดิ์ หลี่ผี ปี 2481 จำพรรษาที่วัดสุปัฏนาราม อ.เมือง จ.อุบลราชธานี ได้บรรพชาซ้ำอีก กับพระศรีธรรมาวงศาจารย์ (ทองจันทร์เกสโร) เป็นพระอุปัชฌาย์ได้ศึกษาบาลีไวยากรณ์ซ้ำอีกและสอบได้ และในพรรษานี้ป่วยเป็นโรคเหน็บชาตลอดพรรษา ปี 2482 ออกมาจำพรรษาที่วัดบ้านก่ออีก 1 พรรษาไม่ได้อะไร ในปี 2483 ได้ติดตามท่านพระอาจารย์บุญมาฐิตเปโม ไปจำพรรษาที่วัดอรุณรังษี จ.หนองคาย ได้ป่วยเป็นโรคเหน็บชาตลอดพรรษาอีก สอบ น.ธ. โท ได้ในสำนักเรียนวัดบุญญานุสรณ์ จ.อุดรธานี ใน พ.ศ. 2492 สอบ น.ธ.เอก ได้ที่สำนักเรียนวัดกุดเรือคำ จ.สกลนคร ใน ปี 2496
การอุปสมบท ได้อุปสมบทที่อุโบสถวัดศรีเมือง จ.หนองคาย พระเทพบัณฑิต (ครั้งดำรงตำแหน่งพระครูวิชัยสังฆกิจ) เป็นพระอุปัชฌาย์ พระใบฎีกานาค เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระมหาอินทร์เป็นพระอนุสาวนาจารย์ สำเร็จญัติจตุตถกรรมเวลา 15.07 น. วันที่ 25 ธันวาคม 2483 ครั้นปี 2484-2485 ป่วย ได้จำพรรษาที่วัดป่าบ้านค้อ ตำบลบ้านกลาง อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี ได้ศึกษาวิปัสนาธุระตามลำพังกับท่านพระอาจารย์บุญมา ฐิตเปโม ปี 2486 จำพรรษาที่ถ้ำผาบิ้ง อำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย ศึกษาวิปัสสนาตามลำพัง ป่วยเป้นไข้ป่ากลางเรื้อรังอยู่นาน ปี 2487 จำพรรษาที่ถ้ำกวาง อำเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น กับท่านพระอาจารย์คำดี ปภาโส ปี 2488 จำพรรษาที่สำนักภูสวรรค์ (ภูตะกา) บ้านหนองบัวน้อย อำเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น ปี 2489 จำพรรษาที่สำนักป่าช้าบ้านต้นผึ้ง หนองคู อำเภอภูเวียง อาศัยศึกษาวิปัสสนาธุระอยุ่กับท่านพระอาจารย์คำดี ปภาโส เป็นเวลา 3 ปี ปี 2490 จำพรรษาที่วัดป่าศรัทธาราม บ้านห้วยทรายคำ อำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย ออกพรรษาไปตั้งสำนักสงฆ์ชั่วคราวที่บ้านโคกแฝก-หนองขาม อำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย และไปพักวิเวกที่ป่าช้าบ้านกกเกลี้ยงบ้านเล้า ให้ชื่อว่าสำนักป่าเวฬุวันขณะนี้สร้างไปแล้ว ปี 2491 ไปจำพรรษาที่วัดป่าบ้านบก ตำบลหนองไข่นก อำเภอม่วงสามสิบ จังหวัดอุบลราชธานี เพื่อโปรดญาติพี่น้องมาตุภูมิ-ปิตุภูมิ ออกพรรษาแล้วได้มาปฏิบัติวิปัสสนาธุระกับท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทฺตโต ที่วัดภูริทัดตถิราวาสอำเภอพรรณนานิคม จังหวัดสกลนคร ได้ประมาณครึ่งเดือน ในปี พ.ศ.2492-2493 จำพรรษาที่สำนักป่าสุขาวิเวก บ้านหนองบัว ตำบลแร่ อำเภอพังโคน จังหวัดสกลนคร เนื่องจากโยมบิดา-มารดา ได้อพยพตามขึ้นมาอาศัยตั้งครอบครัวอยู่ที่บ้านหนองบัวนั้น แต่บังเอิญไม่สมหวัง โยมบิดา-มารดาได้ถึงแก่กรรมไปในปีแรกและปีถัดมา จึงเป็นเหตุให้เสียกำลังใจ ปี 2494 จึงได้ย้ายไปจำพรรษาที่วัดศิริราษฎร์วัฒนา บ้านเจริญศิลป์ ตำบลทุ่งแก อำเภอสว่างแดนดิน จังหวัดสกลนคร ในปี 2495 ได้ปรับปรุงพัฒนาขยายวัดนี้ให้กว้างขวางถึง 100 ไร่ วางผัง-ตัดถนน-สร้างกุฏิ และปลูกต้นไม้ผลไม้ไว้ให้เป็นระเบียบพอสมควร และยังได้สร้างศาลาหอฉันไว้ด้วย ปี 2496 ได้ไปจำพรรษาที่สำนักป่าธาตุศรีทอง บ้านธาตุ ตำบลธาตุทอง อำเภอวานรนิวาส จังหวัดสกลนคร เนื่องจากความต้องการของโยมชาวบ้านธาตุนั้นอยากบูรณะบำรุงดอนธาตุ ซึ่งประชาชนในถิ่นนั้นนับถือเป็นศาลเจ้ามเหศักดิ์อันใหญ่โต จนคนไปทำอะไรบริเวณนั้นไม่ได้ถึงกับหักคอตาย หรือว่ายบกฯ จึงได้ไปช่วยบูรณะพัฒนาภายในด้านศีลธรรมให้เชื่อมเข้าในจิตใจของประชาชน และพัฒนาด้านวัตถุ ให้เป็นที่เจริญสมณะธรรมกรรมฐานเป็นรมณียสถานมาตลอดทุกวันนี้ ครั้นปี 2497 กลับมาจำพรรษาที่วัดศิริราษฎร์วัฒนา บ้านเจริญศิลป์อีก ได้ตั้งสำนัก ศาสนศึกษาปริยัติธรรม น.ธ.ตรี-โท-เอก ขึ้นตั้งแต่บัดนั้น จนถึงปัจจุบันเป็นเวลา 21 ปีแล้ว ปี 2498 ได้ไปตั้งวัดศรีสว่างแดนดิน โดยคำบัญชาของท่านเจ้าคุณพระธรรมเจดีย์ วัดโพธิสมภรณ์ (อดีตเจ้าคณะมณฑลอุดรธานี) ได้ปรับปรุงพัฒนาวางผัง-ตัดถนนในวัดนี้ตามระเบียบของกรรมการศาสนาที่วางไว้เป็นหลักประกอบ ได้สร้างเสนาสนะ-ปลูกมะม่วงอกร่องไว้มาก ได้จำพรรษาอยู่ที่วัดนี้ 13 ปี (พ.ศ. 2498-2510) ปี 2511 ได้ย้ายไปดำรงตำแหน่งเจ้าคระอำเภอพรรณนานิคม-วาริชภูมิ (ธ) ตั้งสำนักอยู่ที่วัดสามัคคีธรรม บ้านนาเหมือง ตำบลพังโคน อำเภอพังโคน จังหวัดสกลนคร โดยคำบัญชาของเจ้าพระคุณสมเด็จพระมหาวีระวงค์ (ธมฺมธโร พิมพ์) วัดพระศรีมหาธาตุ พระนคร เจ้าคณะภาค 8-9-10-11 (ธ) ในสมัยนั้น รวมประจำอยู่วัดสามัคคีธรรมนี้ 7 ปีบริบูรณ์ย่างเข้าปีที่ 8
งานการปกครอง ปี 2497 เป็นเจ้าอาวาสวัดศิริราษฎร์วัฒนา ปี2498 เป็นเจ้าอาวาสวัดศรีสว่างแดนดิน ปี 2504 เป็นพระอุปัชฌาย์ ปี 2511 เป็นเจ้าอาวาสวัดสามัคคีธรรม และเป็นเจ้าคณะอำเภอพรรณานิคม-วาริชภูมิ (ธ) ปี2510 ได้รับสมณศักดิ์ พระครูสัญญาบัตรชั้นตรี-และชั้นโทตามลำดับ
งานการศึกษา ปี 2497 ได้ตั้งสำนักศาสนศึกษาปริยัติธรรมที่วัดศิริราษฎร์วัฒนา ปี 2502 ตั้งศาสนศึกษาปริยัติธรรมขึ้นที่วัดศรีสว่างแดนดิน ปี 2511 ตั้งสำนักศาสนศึกษาปริยัติธรรมขึ้นที่วัดสามัคคีธรรม จนถึงปัจจุบัน ส่วนเครื่องอุปกรณ์การศึกษาก็เป็นเงาตามตัวขึ้นในที่นั้นๆ
ปี 2497 ได้แต่งตั้งเป็นกรรมการตรวจธรรมสนามหลวง น.ธ.ตรี มาตลอดจนถึงทุกวันนี้
งานเผยแพร่ ได้ช่วยอบรมศีลธรรม-เยี่ยมเยือนประชาชนในเขต อำเภอสว่างแดนดิน ในขณะที่เป็นผู้ช่วยเจ้าคณะอำเภอสว่างแดนดิน ต่อมาได้รับแต่งตั้งเป็นพระธรรมทูต อบรมประชาชนในเขตจาริก-ปกครอง แต่ปี 2507 เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบันนี้ได้ 11 ปีแล้ว (ทำทุกปี)
นอกจากนี้ได้ช่วยแก้มิจฉาทิฐิของประชาชนบ้านป่าขาดอนในเรื่องลัทธิ ถือผีสางนางไม้ให้กลับเชื่อมั่นในพระรัตนตรัย และถือพระไรสรณคมให้มั่นคงยิ่งขึ้น หรือป่วยไข้ ผีสิง ก็ให้อาบน้ำพระพุทธมนต์เป็นต้น
งานสาธารณูปการ ได้ก่อสร้างบูรณะวัดถาวรวัตถุดังต่อไปนี้
1.ได้วางผังก่อสร้างวัดศิริราษฏร์วัฒนา บ้านเจริญศิลป์ ตัดถนนรอบวัด ล้อมรั้วในที่ดิน 100 ไร่ด้วยลวดหนามหลักไม้แก่น และยังมั่นคงในปัจจุบันนี้ ช่วยงานสร้างอุโบสถ และจัดงานฝังลูกนิมิตเมื่อปี 2514
2.ได้วางผังสร้างวัดศรีสว่างแดนดิน อำเภอสว่างแดนดิน สร้างกุฏิ 2 ชั้นด้วยไม้ กว้าง 8 เมตร ยาว 21 เมตร สร้างถังเก็บน้ำฝน และสร้างสระน้ำใช้ได้อยู่จนปัจจุบันนี้ จากปี 2498-2510 ได้ที่ดิน 54 ไร่
3.ได้บูรณะและสร้างศาลาการเปรียญวัดธาตุศรีทอง บ้านธาตุ ตำบลธาตุทอง อำเภอวานรนิวาส ในปี พ.ศ. 2500
4.ได้วางผังบูรณะวัดสามัคคีธรรม สร้างกุฏิ-ตัดถนนในวัด และรอบวัด สร้างสระน้ำกว้าง 60 เมตร ยาว 80 เมตร ลึก 3.50 เมตร สร้างศาลาหอฉัน ศาลาที่พักชี สร้างสีมาวิหาร (อุโบสถ) กว้าง 14 เมตร ยาว 36 เมตร (2 ชั้น) คิดค่าก่อสร้างในระยะ 7 ปี ประมาณ 2,500,000 บาท (สองล้านห้าแสนบาทเศษ) โดยได้รับอุปการะจากทางการบ้างและจากศาสนิกชนทั่วไปบ้าง ขอขอบคุณไว้ ณ โอกาสนี้ด้วย
สรุปชีวประวัติ ชีวิตเป็นฆราวาส 15 ปี เป็นบรรพชิต 39 ปี รวมอายุ 54 ปี พรรษาเป็นพระ 34 พรรษา เป็นสามเณร 5 ปี เที่ยววิปัสสนาอยู่ 9 ปี ทำงานส่วนรวมคันถธุระ 25 ปี นับว่าเป็นชีวิตที่ขาดทุนภายใน (ยังประมาทอยู่)
เห็นว่าภาระด้านคันถธุระที่ได้ทำมานี้พอสมควรแก่กำลัง และภาวะชีวิตความเป็นมาและจนเป็นอยู่อีกต่อไป ชักจะไม่ไว้ใจในชีวิต จึงใคร่ขอจารึกประวัตินี้ไว้เพื่อศิษยานุศิษย์ผู้สนใจ จะได้อ่านได้ศึกษา ประพฤติปฏิบัติตามในส่วนที่ดี เพื่อหาที่พึ่งแก่คนอื่นต่อไป ทั้งในปัจจุบันและสัมปรายิกภพข้างหน้าด้วย
(พระครูศรีภูมานุรักษ์)
เจ้าอาวาสวัดสามัคคีธรรม
อ.พังโคน จ.สกลนคร
25 มกราคม 2518
เจ้าของประวัติ
เจ้าอาวาสวัดสามัคคีธรรม
อ.พังโคน จ.สกลนคร
25 มกราคม 2518
ประวัติหลวงตาอู๊ต (เจ้าอาวาสองค์ปัจจุบัน)
ชีวประวัติหลวงตาอุ๊ด สุนฺทราจาโร หลวงตาอุ๊ด สุนฺทราจาโร (สกุลสิทธิพรม) เกิดเมื่อวันศุกร์ ที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ.2499 ปีวอก ณ บ้านเลขที่ 85 บ้านนาเหมือง ตำบลพังโคน อำเภอพังโคน จ.สกลนคร บิดาชื่อ นายพรหม สิทธิพรม มารดาชื่อ นางเสถียร ก้อนอินทร์ มีพี่น้องร่วมกัน 2 คนดังนี้ 1.หลวงตาอุ๊ด สุนฺทราจาโร 2.นางพิสมัย ก้อนอินทร์ (น้องสาว)
การศึกษา ได้เข้ารับการศึกษาที่ศาลาวัดศรีบุญเรือง บ้านนาเหมือง จนจบประถมปีที่ 2 ได้เข้าศึกษาต่อประถมปีที่ 3-7
ที่โรงเรียนจำปาสามัคคีวิทยาบ้านพังโคน ตำบลพังโคน อำเภอพังโคน จ.สกลนคร
การออกบรรพชา-เป็นสามเณร เมื่อเป็นฆราวาสอายุได้ 13 ปี จบประถม 7 แล้ว ตา-ยาย ก็ได้อบรมสั่งสอนในทาง
พระพุทธศาสนาว่าการออกบวชนั้นได้บุญมาก จึงคิดอยากออกบวชและได้บอกกับยายว่าอยากจะบวช ท่านก็เลยยินดี
อนุโมทนาในเจตนาอันดีนี้ แม่และยายก็เลยนำตัวมาฝากเป็นลูกศิษย์หลวงปู่คำมี สุวรรณศิริ (พระครูศรีภูมานุรักษ์)
ณ.วัดสามัคคีธรรม บ้านนาเหมือง เป็นผ้าขาวน้อยเรียนขานนาค อยู่ 1 เดือน กับอีก 15 วัน เป็น 45 วันพอด
ี ท่านหลวงปู่คำมี (พระครูศรีภูมานุรักษ์) อุปัชฌาย์ ท่านจึงบรรพชาเป็นสามเณรให้ ได้รับการอบรมสั่งสอน
ข้อวัตรปฏิบัติกรรมฐานภาวนา-สมาธิกับท่าน และคอยฟังความตักเตือนคำสอนของท่านตลอด จนได้เป็นลูกศิษย์ผู้ใกล้ชิด
เป็นสามเณร อุปฐาก-อุปถัมภ์ก้นกุฏิ ท่านได้พาออกธุดงศ์ปฏิบัติธรรมหลายที่ เรียนศึกษาธรรมวินัย สวดมนต์ สวดพร
ให้ศีล จนพระอาจารย์ไว้วางใจ มั่นใจในตัวของสามเณรผู้เป็นลูกศิษย์ตลอด อยู่มาจนถึง 6 พรรษา อายุย่างเข้า 19 ปี
การศึกษาด้านพระปริยัติ – นักธรรม
ได้เข้ารับการเรียน และสอบปริยัตินักธรรมชั้นตรี ได้ในปี พ.ศ.2513
สอบปริยัตินักธรรมชั้นโท ได้ในปี พ.ศ.2515
สอบปริยัตินักธรรมชั้นเอก ได้ในปี พ.ศ.2517
พรรษาที่ 7 อายุย่างเข้า 20 ปี ก่อนเข้าพรรษาได้ขอลาศึกกับท่านหลวงปู่คำมี(พระครูศรีภูมานุรักษ์) วัตถุประสงค์ที่ขอลาสิกขา
ก็เพื่อออกมาดูแลตอบแทนบุญคุณบุพการีที่เลี้ยงดูมา นั้นก็คือ แม่และยาย และเพื่อศึกษาต่อ ตามประสงค์ของแม่และยายด้วย
แต่ได้ใคร่ขอหลวงปู่คำมี(พระครูศรีภูมานุรักษ์)ลาศึกอยู่ถึง3ครั้งท่านถึงตัดสินใจให้ลาศึกแต่พอศึกออกมาก็ได้ศึกษาต่อ
มัธยมศึกษาผู้ใหญ่ม.1จนถึงม.3จบแต่ก็ยังไม่ได้หางานทำเพราะรอเกณฑ์ทหารก่อนแต่เมื่อเกณฑ์ทหารไม่ติดและด้วยความบังเอิญสำนักงานประถมศึกษาพังโคนรับสมัครสอบนักการภารโรงของโรงเรียนบ้านนาเหมือง
จึงเข้าสมัครสอบและสอบติดได้เข้าทำงานและได้รับเงินเดือน750บ./ด.และได้ดูแลอุปการคุณแม่และยายมาตลอด
จนถึงอายุไขของยายได้ 78 ปีท่านก็ได้จากลูก-หลานไปโดยไม่มีวันกลับต่อมาในปี พ.ศ. 2543 ได้พิจารณาว่าอยากจะออกบวชอีกครั้ง
จึงได้ไปมอบตัวเป็นนาคกับหลวงปู่บุญพิน กตปุญโญ (พระครูสุวิตมลบุญญากร) เป็นพระอุปัชฌาย์ณวัดผาเทพนิมิตและได้กลับมาสังกัดอยู่วัดป่าสามัคคีธรรมบ้านนาเหมืองเหมือนเดิม พรรษาแรกพ.ศ.2543
ได้พำนักจำพรรษาอยู่วัดพระธาตุจำปามหารัตนารามกับปู่ต้นบุญ ติกขะปัญโญ ต่อมาในปี พ.ศ.2545 ได้ไปพำนักจำพรรษาที่วัดพระธาตุเจ้าผู้ข้า
อัฐวาส บ้านอุ้มไผ่ บ้านไผ่ทอง อำเภอพรรณนานิคม จ.สกลนคร บูรณะพระธาตุเจ้าผู้ข้า สร้างพระพุทธรูป 5 องค์ สร้างศาลาการเปรียญ 1 หลัง
วิหารหลวงปู่เวียง กุฏิ 6 หลัง ในปี พ.ศ.2546 ได้พำนักจำพรรษาที่วัดสามัคคีธรรม ในปีนั้นวัดสามัคคีธรรมไม่มีเจ้าอาวาส
ศรัทธาญาติโยมชาวบ้านนาเหมือง อำเภอพังโคน จังหวัดสกลนคร ได้ไปกราบอาราธนานิมนต์ หลวงปู่อุปัชฌาย์เจ้าคณะอำเภอ
และลงมติความเห็นว่าให้ไปนิมนต์หลวงตาอุ๊ด สุนฺทราจาโร มารักษาการแทนเจ้าอาวาส ดูแลศาสนสมบัติภิกษุ-สามเณร ในปี พ.ศ.2547
ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาส วัดสามัคคีธรรม ต่อมาในวันที่ 1 ม.ค. 2551 ได้รับพัด แต่งตั้งเป้นพระครูธรรมธรอัมพร สุนฺทราจาโร ฐานาพระธรรมฐิติญาณ
วัดบึงพระลานชัย จังหวัดร้อยเอ็ด การก่อสร้างบูรณะพระธาตุเจดีย์ศรีภูมานุรักษ์ ศาลาวิหารศรีภูมาประชาราช ได้ก่อสร้างพระพุทธรูปปางนาคปก 21 องค์ จัดรูปแบบวัดพัฒนาตัวอย่างจนถึงปัจจุบัน
การศึกษา ได้เข้ารับการศึกษาที่ศาลาวัดศรีบุญเรือง บ้านนาเหมือง จนจบประถมปีที่ 2 ได้เข้าศึกษาต่อประถมปีที่ 3-7
ที่โรงเรียนจำปาสามัคคีวิทยาบ้านพังโคน ตำบลพังโคน อำเภอพังโคน จ.สกลนคร
การออกบรรพชา-เป็นสามเณร เมื่อเป็นฆราวาสอายุได้ 13 ปี จบประถม 7 แล้ว ตา-ยาย ก็ได้อบรมสั่งสอนในทาง
พระพุทธศาสนาว่าการออกบวชนั้นได้บุญมาก จึงคิดอยากออกบวชและได้บอกกับยายว่าอยากจะบวช ท่านก็เลยยินดี
อนุโมทนาในเจตนาอันดีนี้ แม่และยายก็เลยนำตัวมาฝากเป็นลูกศิษย์หลวงปู่คำมี สุวรรณศิริ (พระครูศรีภูมานุรักษ์)
ณ.วัดสามัคคีธรรม บ้านนาเหมือง เป็นผ้าขาวน้อยเรียนขานนาค อยู่ 1 เดือน กับอีก 15 วัน เป็น 45 วันพอด
ี ท่านหลวงปู่คำมี (พระครูศรีภูมานุรักษ์) อุปัชฌาย์ ท่านจึงบรรพชาเป็นสามเณรให้ ได้รับการอบรมสั่งสอน
ข้อวัตรปฏิบัติกรรมฐานภาวนา-สมาธิกับท่าน และคอยฟังความตักเตือนคำสอนของท่านตลอด จนได้เป็นลูกศิษย์ผู้ใกล้ชิด
เป็นสามเณร อุปฐาก-อุปถัมภ์ก้นกุฏิ ท่านได้พาออกธุดงศ์ปฏิบัติธรรมหลายที่ เรียนศึกษาธรรมวินัย สวดมนต์ สวดพร
ให้ศีล จนพระอาจารย์ไว้วางใจ มั่นใจในตัวของสามเณรผู้เป็นลูกศิษย์ตลอด อยู่มาจนถึง 6 พรรษา อายุย่างเข้า 19 ปี
การศึกษาด้านพระปริยัติ – นักธรรม
ได้เข้ารับการเรียน และสอบปริยัตินักธรรมชั้นตรี ได้ในปี พ.ศ.2513
สอบปริยัตินักธรรมชั้นโท ได้ในปี พ.ศ.2515
สอบปริยัตินักธรรมชั้นเอก ได้ในปี พ.ศ.2517
พรรษาที่ 7 อายุย่างเข้า 20 ปี ก่อนเข้าพรรษาได้ขอลาศึกกับท่านหลวงปู่คำมี(พระครูศรีภูมานุรักษ์) วัตถุประสงค์ที่ขอลาสิกขา
ก็เพื่อออกมาดูแลตอบแทนบุญคุณบุพการีที่เลี้ยงดูมา นั้นก็คือ แม่และยาย และเพื่อศึกษาต่อ ตามประสงค์ของแม่และยายด้วย
แต่ได้ใคร่ขอหลวงปู่คำมี(พระครูศรีภูมานุรักษ์)ลาศึกอยู่ถึง3ครั้งท่านถึงตัดสินใจให้ลาศึกแต่พอศึกออกมาก็ได้ศึกษาต่อ
มัธยมศึกษาผู้ใหญ่ม.1จนถึงม.3จบแต่ก็ยังไม่ได้หางานทำเพราะรอเกณฑ์ทหารก่อนแต่เมื่อเกณฑ์ทหารไม่ติดและด้วยความบังเอิญสำนักงานประถมศึกษาพังโคนรับสมัครสอบนักการภารโรงของโรงเรียนบ้านนาเหมือง
จึงเข้าสมัครสอบและสอบติดได้เข้าทำงานและได้รับเงินเดือน750บ./ด.และได้ดูแลอุปการคุณแม่และยายมาตลอด
จนถึงอายุไขของยายได้ 78 ปีท่านก็ได้จากลูก-หลานไปโดยไม่มีวันกลับต่อมาในปี พ.ศ. 2543 ได้พิจารณาว่าอยากจะออกบวชอีกครั้ง
จึงได้ไปมอบตัวเป็นนาคกับหลวงปู่บุญพิน กตปุญโญ (พระครูสุวิตมลบุญญากร) เป็นพระอุปัชฌาย์ณวัดผาเทพนิมิตและได้กลับมาสังกัดอยู่วัดป่าสามัคคีธรรมบ้านนาเหมืองเหมือนเดิม พรรษาแรกพ.ศ.2543
ได้พำนักจำพรรษาอยู่วัดพระธาตุจำปามหารัตนารามกับปู่ต้นบุญ ติกขะปัญโญ ต่อมาในปี พ.ศ.2545 ได้ไปพำนักจำพรรษาที่วัดพระธาตุเจ้าผู้ข้า
อัฐวาส บ้านอุ้มไผ่ บ้านไผ่ทอง อำเภอพรรณนานิคม จ.สกลนคร บูรณะพระธาตุเจ้าผู้ข้า สร้างพระพุทธรูป 5 องค์ สร้างศาลาการเปรียญ 1 หลัง
วิหารหลวงปู่เวียง กุฏิ 6 หลัง ในปี พ.ศ.2546 ได้พำนักจำพรรษาที่วัดสามัคคีธรรม ในปีนั้นวัดสามัคคีธรรมไม่มีเจ้าอาวาส
ศรัทธาญาติโยมชาวบ้านนาเหมือง อำเภอพังโคน จังหวัดสกลนคร ได้ไปกราบอาราธนานิมนต์ หลวงปู่อุปัชฌาย์เจ้าคณะอำเภอ
และลงมติความเห็นว่าให้ไปนิมนต์หลวงตาอุ๊ด สุนฺทราจาโร มารักษาการแทนเจ้าอาวาส ดูแลศาสนสมบัติภิกษุ-สามเณร ในปี พ.ศ.2547
ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาส วัดสามัคคีธรรม ต่อมาในวันที่ 1 ม.ค. 2551 ได้รับพัด แต่งตั้งเป้นพระครูธรรมธรอัมพร สุนฺทราจาโร ฐานาพระธรรมฐิติญาณ
วัดบึงพระลานชัย จังหวัดร้อยเอ็ด การก่อสร้างบูรณะพระธาตุเจดีย์ศรีภูมานุรักษ์ ศาลาวิหารศรีภูมาประชาราช ได้ก่อสร้างพระพุทธรูปปางนาคปก 21 องค์ จัดรูปแบบวัดพัฒนาตัวอย่างจนถึงปัจจุบัน
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)